EasyCompare มีคำแนะนำดีๆ ที่เหมาะกับการฆ่าเวลาอันยาวนานน่าเบื่อเช่นนี้ ด้วยท่าขยับร่างออกกำลังกายง่ายๆ สลายเครียด คลายกล้ามเนื้ออ่อนล้า คืนความกระปรี้กระเปร่าสดชื่น ตื่นจากภวังค์ พร้อมทั้งห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ อาทิ โรคทางกระดูกและกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องผูก จนถึงโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ชาย) โดยระหว่างที่ทำอาจเปิดเพลงโปรดของคุณเพื่อเพิ่มความสนุกไปพร้อมกันด้วยก็ได้
4 ขยับ สลับ สลายความเมื่อยล้า
...เริ่มจากการบริหารแขน ประยุกต์ใช้ขวดน้ำดื่มให้เกิดประโยชน์ เสมือนเป็นดัมเบล วิธีการง่ายๆ เพียงแค่หยิบขวดน้ำขึ้นมา แล้วทำท่าต่อไปนี้
-
ท่ายืดบ่า
นั่งหลังตรง ใช้มือจับศีรษะเอียง 45 องศา และกดลงไปในด้านเดียวกัน มืออีกข้างจับขอบเก้าอี้ ทำครั้งละ 30 วินาที ช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อคอบ่า ไหล่
-
ท่ายืดท้องแขนส่วนบน
เริ่มจากนั่งหลังตรง ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ งอมือทั้งคู่มาจับข้อศอกของอีกข้างไว้ จากนั้นดันข้อศอกไปด้านหลัง ทำครั้งละ 30 วินาที ท่านี้ช่วยแก้อาการปวดหลัง และลดความตึงของท้องแขนได้ดีทีเดียว แต่ถ้ายังไม่หายเมื่อย ก็ผ่อนคลายกันต่อไปด้วยท่ายืดไหล่
-
ท่ายืดไหล่
ทำได้โดยนั่งยืดตัว แล้วบีบไหล่ยกขึ้นไปหาใบหู ค้างไว้ นับ 1-2 แล้วเอาลง ทำซ้ำสัก 5 ครั้ง จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้น
-
ท่าบิดตัว
นั่งยืดตัวตรงขึ้น มือขวาวางบนเข่าซ้าย มือซ้ายจับของเบาะ แล้วบิดตัวมาทางซ้าย นับ 1-5 แล้วทำสลับข้างไปสัก 5 ครั้ง
6 ปรับ เพื่อท่านั่งขับที่ดี ไม่มีปวดหลัง
หลักสำคัญก็คือ ปรับทุกอย่างที่อยู่ในรถให้สอดคล้องกับสุขภาพร่างกาย อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป จะช่วยลดอาการปวดหลังจากการขับรถลงได้
1. ปรับพนักพิง เบาะอาจจะเอนเล็กน้อยหรือตั้งตรงไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่อย่าเอนจนเหมือนนอนเพราะนอกจากอันตรายแล้วยังทำให้คุณปวดหลังอีกต่างหาก
2. ปรับระยะนั่ง ควรปรับระยะทางนั่งให้พอดีกับตัวคุณมากที่สุดไม่เลื่อนเข้าไปชิดพวงมาลัยมากเกินไป หรือไกลเกินไป การปรับระยะทางนั่งที่ถูกวิธีควรเริ่มจากเข่า สามารถสอดเท้าเข้าไปที่พื้นรถหลังแป้นเบรก โดยที่เข่าต้องอยู่ในลักษณะที่งอได้เล็กน้อยถือว่าโอเค
3. ปรับความสูงต่ำของเบาะ ระยะความสูงของเบาะค่อนข้างสำคัญ เพราะมีผลโดยตรงต่อแผ่นหลัง ระดับที่ไม่พอดีหลังเราจะโค้งงอ จนปวดหลังในที่สุด การปรับระดับความสูงของเบาะปรับง่ายๆโดย ให้ระยะห่างศีรษะกับเพดานรถเท่ากับหนึ่งกำปั้น แค่นี้คุณก็จะไม่ปวดหลัง และมองเห็นทัศนวิสัยได้ดีอีกด้วย
4. ปรับมุมของพวงมาลัย การปรับตำแหน่งพวงมาลัยที่เหมาะสม ให้วางมือที่ตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา จากนั้นดูช่วงงอของแขน ไม่ควรจะตึงเกินไปและไม่ควรมีช่วงพับข้อมากเกินไป เพราะจะทำให้คุณหมุนพวงมาลัยไม่ถนัด ซึ่งตรงนี้ให้แก้ไขที่พวงมาลัย และหรือปรับที่นั่งสูงต่ำด้วยอาจจะช่วยได้
5. ปรับกระจกข้างและกระจกหลัง ควรปรับให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมแบบที่เรามองง่ายที่สุดโดยที่ไม่ต้องขยับตัวมากนัก ไม่ต้องยืดหรือหดตัว เอียงศีรษะหรือโยกตัวไปมาเวลามอง จะยิ่งเพิ่มการสะสมความเมื่อยล้าให้มากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังอาจจะทำให้เกิดจุดบอดที่มองไม่เห็น อุบัติเหตุก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย
สุดท้ายอย่าลืม 6. ปรับหมอนรองคอ หลายคนมักลืมหมอนรองคอ ถ้าปรับให้ดูตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจะทำให้คุณสบาย และยังช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการกระแทก ตำแหน่งที่ถูกต้องควรปรับให้อยู่กลางศีรษะ
แค่เพียง “ขยับและปรับ” ก็ช่วยให้คนที่ขับรถทางไกลมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา หายปวดเมื่อยเสมือนได้เล่นฟิตเนสเลยทีเดียว
อย่าลืมเพิ่มความคุ้มครองด้วยประกันภัยรถยนต์นะครับ จะประกันชั้น 1 ชั้น 2+ ชั้น 3+ หรือ ชั้น 3 ก็ช่วยคุ้มครองให้คุณอุ่นใจ