


พ.ร.บ.รถยนต์ที่เจ้าของรถทุกคนต้องจ่ายเมื่อต่อภาษีป้ายทะเบียนทุกปี เป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะมีประโยชน์ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นมาถึงขั้นมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
พระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร
หากต้องการขับขี่ยานยนต์ในประเทศไทย คุณจำเป็นต้องมีการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกคนในประเทศไทยจะต้องต่อพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เสมอทุกปีจึงจะสามารถเสียภาษีรถยนต์รายปีได้ นิยมเรียกพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับว่าพ.ร.บ. แต่บางครั้งอาจเรียกว่าประกันภัยประเภทคุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกภาคบังคับ อย่าเพิ่งงงเพราะชื่อยาว!
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
พระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ช่วยครอบคลุมค่าเสียหายต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เช่น การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ด้วยวงเงินประกันขั้นต่ำ ซึ่งไม่คุ้มครองทุกด้าน และไม่ครอบคลุมความเสียหายหรือสูญเสียที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณ รวมถึงค่าขาดประโยชน์จากการใช้ยานยนต์ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากนี้ยังไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดจากเหตุรถชนอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกคนควรทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมจากพ.ร.บ.ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนและลำบากใจในภายหลังหากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนที่อันตรายร้ายแรงขึ้นมา พ.ร.บ.เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งมีโอกาสที่จะสูงเป็นอย่างมากหากมีบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อความสบายใจ คุณจึงควรเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจไว้เพิ่มเติมเพื่อรับการคุ้มครองที่ครอบคลุม ประกันแบบสมัครใจมีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ ประกันชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 3+ และ ชั้น 3 รายละเอียดเพิ่มเติมว่าประกันแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อ่านได้ที่นี่
ยานยนต์บนท้องถนนทุกชนิดจำเป็นต้องมีพ.ร.บ. เช่น รถประจำทาง รถจักรยานยนต์ รถยนต์เติมไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถบรรทุก หรือรถส่วนบุคคล หากว่าคุณเป็นเจ้าของหรือให้เช่ารถ คุณก็จำเป็นต้องทำพ.ร.บ.ให้พาหนะนั้นๆ เช่นกัน
พ.ร.บ. เคลมอะไรได้บ้าง?
เมื่อขับรถเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่คุณสามารถเคลมได้ คือ
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
สามารถเคลมได้เลยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ได้แก่
- บาดเจ็บ กรณีที่ได้รับการบาดเจ็บจากการขับขี่รถยนต์ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ. จะจ่ายตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และหากในระยะเวลาต่อมา เกิดการทุพพลภาพหรือพิการ ทางบริษัทประกันฯ ก็จะจ่ายให้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
- ทุพพลภาพ กรณีที่เกิดการทุพพลภาพหรือพิการทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายได้ แต่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นให้ไม่เกินจาก 35,000 บาทต่อคน
- เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายเงินชดใช้ค่าทำศพให้ โดยจะจ่ายที่ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลตามข้อ 1 ทาง พ.ร.บ. ก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท
2. ค่าเสียหายส่วนเกิน
ค่าเสียหายส่วนเกินหรือค่าชดเชยจะจ่ายหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิด จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งเป็นกรณีดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งหมายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย
วิธีการเคลม พ.ร.บ.
เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น และต้องการเคลมค่าเสียหาย สามารถทำได้หลายวิธี ตามประเภทความเสียหาย
- การเคลมค่าเสียหายกรณีบาดเจ็บ
จะต้องนำเอกสารเหล่านี้ไปยื่นกับทางบริษัทประกันฯ เพื่อขอเคลม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ ใบเสร็จต้นฉบับจากโรงพยาบาล ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (กรณีทุพพลภาพ) และบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ - การเคลมค่าเสียหายจากการเสียชีวิต
จะต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้ ไปยื่นกับทางบริษัท ได้แก่ สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะการประสบภัยจากรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ สำเนาบัตรประชาชนทายาท สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาใบมรณบัตร
อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้นไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถแต่อย่างใด
ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ ได้ไหม
การฝ่าฝืนไม่ทำพ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีโทษตามกฎหมาย
ตัวอย่าง บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่น
- เจ้าของรถ ผู้เช่าซื้อรถ หรือเจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ที่ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
แม้จะมี พ.ร.บ ให้ความคุ้มครอง แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นอยู่ดี ผู้ขับขี่ต้องขับรถอย่างมีสติและไม่ประมาทอยู่เสมอ และเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกันเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เลือกทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่มอบความคุ้มครองและดูแลครอบคลุมความเสียหายสูงสุด เลือกราคาที่ใช่ และเหมาะกับคุณที่สุดกับ EasyCompare เพื่อความอุ่นใจในการขับขี่ เช็คเบี้ยประกันทุกชั้นพร้อมรับส่วนลดกับเราวันนี้เลย

รีวิวยอดเยี่ยม จากผู้ซื้อประกันรถยนต์จากเรา
การันตีความสำเร็จด้วย รางวัลด้านการบริการยอดเยี่ยมจาก Feefo อ่านรีวิวจริงทั้งหมดจากลูกค้าที่เคยรับบริการจาก EasyCompare เลย
ละเอียด ชัดเจน ลดเยออะ
ประทับใจมาก เจ้าหน้าที่อธิบายรายละเอียดชัดเจน แนะนำดี ประทับใจจริงคือมีส่วนลดเยอะ ถามเปรียบเที่ยบหลายโบรกเก้อ มีแต่ที่นี่ลดเยอะ เจ้าหน้าที่อธิบายรายละเอียดดี ชัดเจน สอบถามทางใลน์แอดมินน่ารัก ตอบเร็ว
ณัฐริกา กระเช้าทอง
Good price and fast response.
Yes, will recommend my friends..
Trusted Customer
ยินดีแนะนำบริการ
ดิฉันน.ส ณปภัช ได้ใช้บริการและแนะนำให้น้องๆเพื่อนๆมาใช้บริการกับทาง easyCompare หลายคน ตลอดที่ผ่านมาหลายปี ดิฉันไม่เคยเจอปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการเปิดเคลมประกัน…
เกียรติศักดิ์ แจ่มใจ